วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ตำนานชาละวัน

 





รูปปั้นพญาชาละวัน

ชาละวัน เป็นจระเข้ใหญ่เลื่องชื่อแห่งแม่น้ำน่านเก่าเมืองพิจิตร สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในสมัยที่พิจิตรมีเจ้าเมืองปกครอง ตามตำนานกล่าวว่า มีตายายสองสามีภรรยา ออกไปหาปลาพบไข่จระเข้ที่สระน้ำแห่งหนึ่ง จึงเก็บมาฟักเป็นตัวแล้วเลี้ยงไว้ในอ่างน้ำ เพราะยายอยากเลี้ยงไว้แทนลูก ต่อมาจระเข้ตัวใหญ่ขึ้นจึงนำไปเลี้ยงไว้ในสระใกล้บ้านหาปลามาให้เป็นประจำ ต่อมาตายายหาปลามาให้เป็นอาหารไม่พออิ่ม จระเข้ตัวนั้นจึงกินตายายเป็นอาหาร เมื่อขาดคนเลี้ยงดูให้อาหาร จระเข้ใหญ่จึงออกจากสระไปอาศัยอยู่ในแม่น้ำน่านเก่าซึ่งอยู่ห่างจากสระตายายประมาณ 500 เมตร

แม่น้ำน่านเก่าในสมัยนั้นยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ปลานานาชนิดและมีน้ำบริบูรณ์ตลอดปี ขณะนั้นไหลผ่านบ้านวังกระดี่ทอง บ้านดงเศรษฐี ล่องไปทางใต้ ไหลผ่านบ้านดงชะพลู บ้านคะเชนทร์ บ้านเมืองพิจิตรเก่า บ้านท่าข่อย จนถึงบ้านบางคลาน จระเข้ใหญ่ก็เที่ยวออกอาละวาดอยู่ในแม่น้ำตั้งแต่ย่านเหนือเขตวังกระดี่ทอง ดงชะพลู จนถึงเมืองเก่า แต่ด้วยจระเข้ใหญ่ของตายายได้เคยลิ้มเนื้อมนุษย์แล้ว จึงเที่ยวอาละวาดกัดกินคนทั้งบนบกและในน้ำไม่มีเว้นแต่ละวัน จึงถูกขนานนามว่า "ไอ้ตาละวัน" ตามสำเนียงภาษาพูดของชาวบ้านที่เรียกตามความดุร้ายที่มันทำร้ายคน ไม่เว้นแต่ละวัน ต่อมาก็เรียกเพี้ยนเสียงเป็น "ไอ้ชาละวัน" และเขียนเป็น "ชาลวัน" ตามเนื้อเรื่องในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ชื่อของชาละวันแพร่สะพัดไปทั่วเพราะเจ้าชาละวันไปคาบเอาบุตรสาวคนหนึ่งของเศรษฐีเมืองพิจิตรขณะกำลังอาบน้ำอยู่ที่แพท่าน้ำาหน้าบ้าน เศรษฐีจึงประกาศให้สนบนหลายสิบชั่ง พร้อมทั้งยกลูกสาวที่มีอยู่อีกคนหนึ่งให้แก่ผู้ที่ฆ่าชาละวันได้ ไกรทอง พ่อค้าจากเมืองล่าง สันนิษฐานว่าจากเมืองนนทบุรี รับอาสาปราบจระเข้ใหญ่ด้วยหอกลงอาคมหมอจระเข้ ถ้ำชาละวันสันนิษฐานว่าอยู่กลางแม่น้ำน่านเก่า ปัจจุบันอยู่ห่างจากที่พักสงฆ์ถ้ำชาละวัน บ้านวังกระดี่ทอง ตำบลย่านยาว ไปทางใต้ประมาณ 300 เมตร ทางลงปากถ้ำเป็นโพรงลึกเป็นรูปวงกลมมีขนาดพอดี จระเข้ขนาดใหญ่มากเข้าได้อย่างสบาย คนรุ่นเก่าได้เล่าถึงความใหญ่โตของชาละวันว่า เวลามันอวดศักดาลอยตัวปริ่มน้ำขวางคลอง ลำตัวของมันจะยาวคับคลอง คือหัวอยู่ฝั่งนี้ หางอยู่ฝั่งโน้น เรื่องชาละวันเป็นเรื่องที่เลื่องลือมาก จนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกเรื่อง "ไกรทอง" และให้นามจระเข้ใหญ่ว่า "พญาชาลวัน"




พระพิจิตรเกศคด

 

ตามตำนานเล่าว่าในสมัยโบราณ พิจิตรเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงสุโขทัย เวลามีศึกสงคราม ก็มักจะมีการเกณฑ์ชายฉกรรจ์ชาวพิจิตรไปรบ และนักรบจากเมืองพิจิตรนี้มีความกล้าหาญอย่างยิ่ง ก็มีผู้สงสัยว่าทำไมนักรบเหล่านี้จึงกล้าหาญ ก็ปรากฏว่า ชายฉกรรจ์เหล่านี้ต่างมีพระเครื่อง ที่เป็นวัตถุมงคลติดตัวไปทุกคน และพระเครื่องเหล่านี้ก็แปลกกว่าที่อื่น ๆ คือตรงเศียรพระจะเอียงไม่ตรง เข้าใจว่าพิมพ์ที่นำมาใช้หล่อพระนั้นจะทำไม่ตรง แต่ภายหลังก็เป็นที่นิยมกันว่า พระเครื่องของพระเกจิอาจารย์ต่าง ๆ ที่ทำขึ้นในเมืองพิจิตรในสมัยต่อมามักจะทำเกศให้คด เป็นรูปพิมพ์นิยม จึงเรียกกันติดปากว่า พิจิตรเกศคด

ประเพณีกำฟ้า



เป็นประเพณีสำคัญของชาวบ้านป่าแดง ตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหิน ซึ่งเป็นชาวไทยพวน ซึ่งถือปฏิบัติต่อกันมา เป็นเวลาช้านาน จัดตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำและ 3 ค่ำ เดือน 3 (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์) เพื่อแสดง ความเคารพบูชาเทวดาและพระมหากษัตริย์ เมื่อถึงวันกำฟ้าชาวไทยพรวนจะกลับมายังบ้านของตน เพื่อร่วมทำบุญกับญาติพี่น้อง พบปะสังสรรค์และเล่นกีฬาพื้นบ้าน

ประเพณีแข่งเรือยาวจังหวัดพิจิตร


        จังหวัดพิจิตรมีการแข่งเรือประเพณีมาเป็นเวลานานแล้วเพราะมีธรรมเนียมว่า วัดใดถ้าจัดงานปิดทองไหว้พระแล้วก็จะต้องจัดงานแข่งเรือควบคู่กันไปด้วย มักจัดกันในฤดูน้ำหลาก ประมาณวันเสาร์-อาทิตย์ต้นเดือนกันยายนของทุกปี ในงานจะมีการแข่งเรือประเพณีและการประกวดขบวนแห่เรือต่าง ๆ ในแม่น้ำน่าน หน้าวัดท่าหลวงมีการจัดกิจจกรรมภายในงานที่น่าสนในมากมาย

การแข่งเรือยาวของหวัดท่าหลวงเริ่มในสมัยท่าเจ้าคุณพระธรรมทัสส์มุนีวงค์ (เอี่ยม) เจ้าอาวาสวัดท่าหลวง และเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร เมื่อประมาณ พ.ศ. 2450 ได้กำหนดงานจัดงานแข่งขันเรือตามกำหนดวัน คือ วัน ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ภายหลังน้ำในแม่น้ำน่านลดลงเร็วเกินไป ไม่เหมาะสมจะแข่งขันเรือยาว จึงเปลี่ยนมาเป็นวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 10 และทางวัดแข่งขันเพียงวันเดียว การแข่งขันเรือยาวได้จัดนำผ้าห่มหลวงพ่อเพชรมอบให้เป็นรางวัลสำหรับเรือยาวที่ชนะเลิศ และรองชนะเลิศ ต่อมาได้เปลี่ยนรางวัลเป็นธงที่มีรูปหลวงพ่อเพชรแทน


ช่องทางหลักในการถ่ายทอดสดการแข่งขันเรือยาวของจังหวัดพิจิตร 

https://th-th.facebook.com/tukta.multimedia/

ตราผ้าผูกคอลูกเสือประจำจังหวัดพิจิตร

 


ดอกบัวหลวง ดอกไม้ประจำจังหวัดพิจิตร

 


บัวหลวง หรือ บัวหลวงอินเดีย (อังกฤษIndian Lotus, Sacred Lotus, Bean of India) เป็นพืชน้ำในสกุลบัวหลวง (Nelumbo) วงศ์บัว[1] (NELUMBONACEAE)[2][3]

สายพันธุ์ดอกบัวหลวง[แก้]

1. บัวหลวงพันธุ์ดอกสีชมพู (บัวแหลมชมพู) มีชื่อว่า ปทุม ปัทมา โกกระนต หรือโกกนุต ดอกขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ ปลายเรียวสีชมพู กลีบดอกชั้นนอกมี 4-5 กลีบ รูปไข่มีขนาดเล็ดเรียงตัวกัน 2 ชั้น ส่วนกลางของกลีบมีรูปร่างโค้งป่อง ตรงกลางสีชมพูอมเขียว ส่วนกลีบดอกชั้นกลางและชั้นในสีชมพูเข้ม โคนกลีบดอกสีขาวนวล มีประมาณ 13-14 กลีบ เรียงตัวเป็นชั้น ประมาณ 3 ชั้น อยู่โดยรอบฐานดอก กลีบชั้นนอกและชั้นในมีสีและรูปร่างคล้ายชั้นกลางแต่เล็กกว่ากลีบในชั้นกลาง[4]

2. บัวหลวงพันธุ์ดอกสีขาว (บัวแหลมขาว) มีชื่อว่า บุณฑริกหรือปุณฑริก ดอกขนาดใหญ่เป็นรูปไข่ ปลายเรียว คล้ายบัวพันธุ์ปทุม ดอกมีสีขาวประกอบด้วยกลีบดอกชั้นนอกสีขาวอมเขียว ส่วนกลีบในชั้นกลางและชั้นในสีขาวปลายกลีบดอกสีชมพูเรื่อ ๆ รูปร่างของกลีบและการเรียงตัวของกลีบดอกคล้ายดอกบัวพันธุ์ปทุม[4]

3. บัวหลวงพันธุ์ดอกสีชมพูซ้อน (บัวฉัตรชมพู) มีชื่อว่า สัตตบงกช ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ทรงป้อม สีชมพู ประกอบด้วยกลีบนอกเป็นรูปรี มี 4-7 กลีบ กลีบเล็กเรียนซ้อนกันเป็นชั้น 2-3 ชั้น สีเขียวอมชมพู กลีบในสีชมพูตลอด ส่วนโคนกลีบที่ติดกับฐานรองดอกมีสีขาวอมเหลือง กลีบในมีประมาณ 12-16 กลีบ กลีบในชั้นนอกและชั้นในมีขนาดเล็กกว่าชั้นกลาง เป็นรูปไข่ที่มีส่วนกว้างอยู่ด้านบน เกสรตัวผู้ชั้นนอก ๆ เป็นหมัน โดยมีก้านชูที่เป็นเกสรตัวผู้ที่เป็นแผ่นบาง ๆ สีชมพูคล้ายกลีบในแต่มีขนาดเล็กกว่า ไม่มีอับเรณู แต่ปลายกลีบมีส่วนยื่นออกมาที่มีฐานเรียวเล็ก ส่วนปลายพองใหญ่ มีสีขาวนวล[4]

4. บัวหลวงพันธุ์ดอกสีขาวซ้อน (บัวฉัตรขาว) มีชื่อว่า สัตตบุตย์ ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ทรงป้อม คล้ายบัวพันธุ์สัตตบงกช ดอกมีสีขาว ซ้อนกันหลายชั้น ดอกประกอบด้วยกลีบดอกสีเขียวอมขาว ส่วนกลีบชั้นในสีขาวตลอด ส่วนรูปทรงและการเรียงตัวของกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายกับบัวพันธุ์สัตตบงกช[4]

ธงประจำจังหวัดพิจิตร

 


ธงพื้นสีเขียวสลับขาว สีเขียวมี 3 แถบ สีขาว 2 แถบ กลางธงมีรูปตราประจำจังหวัดคือรูปต้นโพธิ์ริมสระหลวง

ตราประจำจังหวัดพิจิตร

 


ตราประจำจังหวัดและตราราชการจังหวัดพิจิตร ภาพนี้มีฐานะเป็นตราราชการ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 214) [ว่าด้วยการกำหนดเครื่องหมายราชการประจำจังหวัด 75 จังหวัด]

บุนนาค ต้นไม้ประจำจังหวัดพิจิตร

 

        

        บุนนาค หรือ สารภีดอย หรือ นาคบุตร เป็นไม้ยืนต้น เนื้อแข็ง ดอกหอม อยู่ในวงศ์เดียวกันกับส้มป่องและติ้วแดง พบได้ในอินเดียและศรีลังกา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ พบได้ในป่าดิบชื้น ตามริมห้วย ลำธาร ที่ระดับความสูงไม่เกิน 6-700 เมตร ต้นสูงประมาณ 25-30 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นสีน้ำตาล ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานแคบ กว้าง 2-3 ซ.ม. ยาว 7-12 ซ.ม.ใบอ่อนจะมีสีแดง ดอกสีขาวหอมเย็น ออก เป็นกระจุก 2-1 ดอก กลีบดอกรูปไข่กลับ ปลายกลีบย่นเล็กน้อย มีเกสรเพศผู้ยาวประมาณ 1.5 ซม.กลีบเลี้ยงกลมโค้งขนาด 1.5 ซ.ม.

เป็นไม้วงศ์เดียวกับ ต้นชะมวงหรือส้มป่อง มะดะหรือมังคุดป่า ต้นติ้วแดงและ ต้นติ้วขน จัดกลุ่มอยู่ในไม้พวก Iron wood คือเนื้อแข็ง ซึ่งมีอยู่ในหลายประเทศ ต้นบุนนาคสามารถพบได้ในอินเดียและศรีลังกา

ประโยชน์

ในตำรายาแผนไทย พบว่าแทบทุกส่วนของบุนนาคนำมาใช้ประโยชน์ทางยาได้หมด

  • เนื้อไม้ - เป็นไม้เนื้อแข็งใช้ทำหมอนรถไฟ การก่อสร้าง ด้านร่ม เป็นต้น
  • ใบ-ใช้รักษาบาดแผล แก้แผลสด แก้พิษงู
  • เปลือกต้น -แก้พิษงู แก้ฟกช้ำ
  • แก่น -แก้เลือดออกตามไรฟัน บำรุงโลหิต
  • ดอกแห้ง - เป็นยาฝาดสมาน ขับลมแก้ลมในไส้ บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ
  • เมล็ด - มีน้ำมันที่กลั่นใช้ผสมเครื่องสำอาง และอื่น ๆ
  • ดอกสด - มีน้ำมันหอมระเหย ปัจจุบันนำมาปลูกเป็นไม้ประดับกันอย่างแพร่หลาย
  • ราก - ขับลมในลำไส้ บำรุงโลหิต แก้กลิ่นเหม็นสาบในร่างกาย

ตำนานชาละวัน

  รูปปั้นพญาชาละวัน ชาละวัน  เป็นจระเข้ใหญ่เลื่องชื่อแห่งแม่น้ำน่านเก่าเมืองพิจิตร สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในสมัยที่พิจิตรมีเจ้าเมืองปกครอง ตามต...